กศน.อำเภอเมืองปทุมธานีเปิดรับสมัครนักศึกษาประจำภาคเรียนที่ ๑ /๒๕๕๔ตั้งแต่วันนี้ถึง ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ติดต่อสอบถาม ๐๒-๙๖๓๙๕๒๓

กศน.อำเภอเมืองปทุมธานี



นางรัชนุช  สละโวหาร


ตำแหน่งผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองปทุมธานี





ประวัติ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปทุมธานี

ชื่อย่อ กศน.อำเภอเมืองปทุมธานี







ศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปทุมธานี ตั้งอยู่เลข ที่ 117 หมู่ที่ 1





ถนนติวานนท์ ตำบลบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ 02-963-9523 โทรสาร 02-501-1967

สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาระดับอำเภอ

มีเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอสามโคก

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอคลองหลวง และอำเภอธัญบุรี

ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตดอนเมือง (กรุงเทพฯ) และอำเภอปากเกร็ด

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอหลุมแก้ว







มีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 14 ตำบล อยู่ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี ได้แก่ ตำบลบางกะดี ตำบลบ้านใหม่











ตำบลหลักหก ตำบลบางพูน ตำบลบางพูด ตำบลสวนพริกไทย ตำบลบ้านกระแชง ตำบลบ้านกลาง ตำบลบางปรอก











ตำบลบ้านฉาง ตำบลบางขะแยง ตำบลบางเดื่อ ตำบลบางคูวัด ตำบลบางหลวง เป็นเทศบาลเมือง 1 ตำบล









ได้แก่ ตำบลบางปรอก เป็นเทศบาลตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะดี ตำบลหลักหก ตำบลบางคูวัด ตำบลบางหลวง











สำหรับอีก 9 ตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท้องถิ่น







ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไปหรือโรงงานอุตสาหกรรม







ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อิสลาม คริส และซิกส์ตามลำดับ รวมทั้งมีวัฒนธรรมชาวมอญที่อาศัยอยู่ที่

ตำบลบางปรอก ตำบลบางคูวัด ตำบลบางขะแยง และตำบลบางกะดี

เทียบระดับการศึกษา

ประกาศการประเมินเทียบระดับการศึกษา
ในเดือน พฤษภาคม 2553      สนใจติดต่อ 02-963-9523

การประเมินเทียบระดับการศึกษาในเขตจังหวัดปทุมธานี

* ประถมศึกษา

* มัธยมศึกษาตอนต้น

* มัธยมศึกษาตอนปลาย

มีความรู้ มีประสบการณ์ มีอาชีพการงานมั่นคงติของผู้สมัคร

1. มีสัญชาติไทยที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย

2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำในเขตบริการเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา

3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบการศึกษา หรือนอกระบบการศึกษาที่แบ่งการศึกษาเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ

4. มีพื้นความรู้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษาหนึ่งระดับ ยกเว้น การขอเทียบระดับประถมศึกษา



เอกสารและหลักฐานที่ต้องนำไปยื่นในวันสมัคร

1. ใบสมัครการประเมินเทียบระดับการศึกษา

2. รูปถ่าย 3 x 4 ซม. จำนวน 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ และไม่สวมหมวก สวมเสื้อผ้าสีขาวมีปกหรือชุดสุภาพ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน และไม่ใช้รูปประเภทโพลาลอยด์

3. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรอง เป็นบุคคลต่างด้าวของกระทรวงมหาดไทย พร้อมฉบับจริง จำนวน 1 ฉบับ

4. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริงไปแสดงดังนี้

4.1 ระดับก่อนประถมศึกษา ไม่ต้องนำหลักฐานพื้นความรู้ไปแสดง

4.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้นำหลักฐานพื้นความรู้ในระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่าไปแสดง

4.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้นำหลักฐานพื้นความรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าไปแสดง

5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมฉบับจริง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ใบทะเบีนสมรส ใบหย๋า ฯลฯ

6. หลักฐานแสดงเป็นผู้มีอาชีพ และประสบการณ์การประกอบอาชีพที่ขอเข้ารับการประเมิน เช่น ใบเสียภาษี ใบทะเบียนการค้า หนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือสถานประกอบการ



ค่าธรรมเนียมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ระดับประถมศึกษา 1,500.- บาท

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1,500.- บาท

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1,500.- บาท



วิธีการประเมินเทียบระดับ

โดยการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน แฟ้มสะสมงาน โครงงาน และการสัมภาษณ์ ตามขอบข่ายการประเมิน 4 องค์ประกอบคือ

1. ความรู้พื้นฐาน การประเมินด้านวิชาการคือ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

2. ความรู้และทักษะด้านการพัฒนาอาชีพ

3. ความรู้และทักษะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

4. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาสังคมและชุมชน